AVR – Arduino ตอน ชนิดตัวแปร |
ในบทความตอนนี้จะพักเรื่องการเขียนโปรแกรมกันก่อนครับ เราจะมาดูชนิดตัวแปรที่เราจะใช้ในการเขียนโปรแกรมกันสักหน่อยเพื่อว่าใน อนาคตจะต้องใช้จะได้คุ้นเคยกับมันครับ ![]() ใน Arduino จะมีชนิดข้อมูลให้เลือกใช้ได้หลายตัว ซึ่งหากต้องการรู้เรื่องตัวข้อมูลแต่ละตัวก็สามารถเข้าไปใน Help แล้วดูที่ Data Types จากนั้นก็เลือกดู ชนิดตัวแปรที่ต้องการได้ครับ void : ไม่มีค่า แต่จะใช้ในการเขียน ฟังก์ชั่น boolean : เก็บเพียง 2 ค่า คือ TRUE และ FALSE char : ข้อมูล 8 bit เก็บค่ารหัสตัวอักษร unsigned char : ข้อมูล 8 bit เก็บจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย 0 – 255 (แบบเดียวกับ Byte) byte : ข้อมูล 8 bit เก็บจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย 0 - 255 int : ข้อมูล 16 bit เก็บจำนวนเต็มคิดเครื่องหมาย 65536 ค่า คือ -32768 ถึง 32767 unsigned int : ข้อมูล 16 bit เก็บจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย 65536 คือ 0 ถึง65535 word : ข้อมูล 16 bit เช่นเดียวกันกับ unsigned int long : ข้อมูล 32 bit เก็บจำนวนเต็มคิดเครื่องหมาย 4294967296 ค่า คือ -2147483683 ถึง 4294967295 unsigned long : ข้อมูล 32 bit เก็บจำนวนเต็มไม่ คิดเครื่องหมาย 4294967296 ค่า คือ 0 ถึง 4294967295 float : ข้อมูลแบบเลขทศนิยม 32 บิต คิดเครื่องหมาย เก็บค่าได้ 3.4 E-38 ถึง 3.4 E +38 double : เก็บค่าแบบเดียวกับ Float แต่มีความละเอียดกว่า 2 เท่า คือ 1.7E+308 string : เป็นตัวแปรชนิดข้อความ หรือตัวอักษร array : เป็นการเก็บข้อมูลหลายๆค่าไว้ในตัวแปรชื่อเดียวกัน จะเห็นว่าตัวแปรแต่ละชนิดจะใช้ในการเก็บค่าไม่เท่ากัน หรือ คนละชนิดกันดังนั้นในการเลือกใช้ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วยครับ ส่วนในการการใช้งานตัวแปรแต่ละชนิดจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดอีกครั้ง ในเรื่องการเขียน code ในบทต่อๆไปถ้าใช้ตัวแปรอะไรก็จะมาอ้างอิงในบทความตอนนี้ได้ครับ จากชนิดของตัวแปรดังกล่าวอาจจะแบ่งกลุ่มได้ คือ boolean : เก็บเพียง 2 ค่า คือ TRUE และ FALSE char และ String จะเก็บค่าอักษรและรหัสอักษร byte , int , word , long , float , double จะเก็บค่าตัวเลข ซึ่งอาจจะใช้กำหนดค่าหรือในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ array จะเก็บข้อมูลหลายๆ ค่า ให้อยู่ในชื่อตัวแปรตัวเดียวและสามารถเรียกค่าตัวแปรมาใช้งานได้ซึ่งจะทำให้ การเขียนโปรแกรมง่ายและสั้น เช่น การเขียนไฟวิ่ง หรือ โครงงานอักษรวิ่ง จะใช้ตัวแปรอะเรย์เป็นหลัก |
เขียนเมื่อ 4 มิ.ย. 2554 |
วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554
AVR – Arduino ตอน ชนิดตัวแปร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น